หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม(หลักสูตรนานาชาติ) Doctor of Philosophy Program in Environmental Management Technology (International Program)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะการวิจัยด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถค้นคว้าหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และนำความรู้ไปต่อยอด สร้างนวัตกรรม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อใช้ในการหาสาเหตุ ป้องกัน แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืน
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Environmental Management Technology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Environmental Management Technology)
- ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
- นักวิชาการ นักวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิสารสนเทศ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานด้านสิ่งแวดล้อม
- นักวางแผนและกำหนดนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม
- ผู้ควบคุมและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
- ที่ปรึกษางานทางด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
- นักพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑.๑ ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต
แบบ ๑.๒ ไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
แบบ ๑.๑ | แบบ ๑.๒ | |
หมวดวิชาบังคับ* | – | ๙๗๙-๗๐๑ ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง ประเมินผลแบบ S/U |
หมวดวิชาเลือก* | ๒ รายวิชา ประเมินผลแบบ S/U | ๒ รายวิชา ประเมินผลแบบ S/U |
หมวดวิชาการศึกษาพิเศษ* | ๒ รายวิชา ประเมินผลแบบ S/U | ๒ รายวิชา ประเมินผลแบบ S/U |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) | ๔๘ | ๗๒ |
รวม | ๔๘ | ๗๒ |
*เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท หรือเทียบเท่า
มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม
๒.๒.๑ แบบ ๑.๑
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐
๒.๒.๒ แบบ ๑.๒
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลการเรียนดีมาก หรือมีโครงงานวิจัยในระดับปริญญาตรี (Senior Project) หรืองานวิจัยที่มีคุณภาพดีมาก
๒.๒.๓ ผู้สมัครเข้าศึกษาทั้งในแบบ ๑.๑ และ ๑.๒ จะต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
เกณฑ์ภาษาอังกฤษแรกเข้าศึกษา
การสอบ | คะแนนขั้นต่ำ |
PSU-TEP | คะแนนถัวเฉลี่ย ๓ ทักษะ (ฟัง อ่าน เขียน) ๔๐% |
การสอบ | คะแนนขั้นต่ำ |
CU-TEP | ๕๐ |
TOEFL (Paper-based Test) | ๔๕๐ |
TOEFL (Revised Paper-delivered Test) | ๓๔ |
TOEFL (Institutional Testing Program) | ๔๗๐ |
TOEFL (Computer-based Test) | ๑๓๓ |
TOEFL (Internet-based Test) | ๔๕ |
IELTS | ๔.๕ |
๒.๒.๔ หากนอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวอรปรียา ปิยังกร
E-mail:onpreeya.j@phuket.psu.ac.th
เบอร์โทรศัพท์: 076276000 ต่อ 6433
Inbox page: FTE คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ม.อ.ภูเก็ต