คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง


SHARE

Latest news


Tags


วันที่ 23 พ.ย. 64 ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 KV พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น ต.ท่านุ่น อ.โคกกลอย จ.พังงา)นายผล ขวัญนุ้ย ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ นายปรีชา บุญพงษ์มณี วิศวกรระดับ 11 พร้อมด้วย นายวีระชัย เมืองพูล หัวหน้ากองบำรุงรักษาสายส่ง และผู้ปฏิบัติงาน เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาและทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น) ณ ห้องประชุม ชาโต-ดี-เอราวัณ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงาโดยมี ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม อปต. กล่าวเปิดการประชุม และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวความเป็นมาของโครงการ ซึ่งการประชุมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านในการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งเกิดผลกระทบต่อการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต โดยมีหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังและเสนอข้อคิดเห็น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดผ่านระบบออนไลน์(Zoom)ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์ COVID-19

In:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • FTE OpenHoue ประจำปี 2567 ณ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

    FTE OpenHoue ประจำปี 2567 ณ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดงาน FTE OpenHouse ประจำปี 2567 ณ ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567  ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ Geo Show Case, Geo Fun Games Fun Quizzes, Geo Adventure, Bar9 Aerial Vision: The Future of Drone Solution, เปิดโลกจุลินทรีย์ใต้ทะเล, สาธิตการศึกษากายวิภาคของปลาฉลาม, การเพาะเลี้ยงปะการัง, ผักลิ้นห่าน วิสาหกิจชุมชน, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชทะเล, นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและการอนุรักษ์ และบูธ I-Dektep นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันแข่งขันตอบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 7 อีกด้วย

  • ภาพบรรยากาศ งาน PSU Roadshow: TCAS68

    ภาพบรรยากาศ งาน PSU Roadshow: TCAS68

    เมื่อวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมโครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ ปีการศึกษา 2568 (PSU Roadshow: TCAS68) ตามโรงเรียนต่าง ๆ ดังนี้ ๐ 11 พ.ย. 67 ที่ จ.กระบี่ ณ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ๐ 12 พ.ย. 67 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๐ 13 พ.ย. 67 ที่ จ.นครศรีธรรมราช ณ โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ๐ 14 พ.ย. 67 ที่ จ.ตรัง ณ โรงเรียนสภาราชินี   โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ให้แก่นักเรียนได้รับทราบถึงข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน หลักสูตรที่เปิดใหม่ จุดเด่นและความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรให้มีความเข้าใจง่าย โดยจะมีการบรรยายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระบบ TCAS…

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology, Sojo University และ Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม​ “2024 SIT-SOJO-OMU to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในส่วนของการทำยาดมสมุนไพรไทย และการบริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization) พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา Faculty of Technology…