คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมการย้ายปลูกปะการังอ่อน บริเวณหาดไตรตรัง อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต


SHARE

Latest news


Tags


เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี ดำมี หัวหน้าโครงการการเพาะเลี้ยงปะการัง อ่อน Sarcophyton sp. เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (The Culture of Soft Coral Sarcophyton sp. for Ecological Rehabilitation and Ecotourism in Patong Bay, Phuket) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อาจารย์อาคม วังเมือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ วิทยาเขตภูเก็ต คณะอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักดำน้ำ และอาสาสมัคร ดำเนินการย้ายปลูกปะการังอ่อนทองหยิบหรือปะการังอ่อนสีทอง Sarcophyton sp. จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไปยังแนวปะการังธรรมชาติ บริเวณหาดไตรตรัง อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 100 โคโลนี พร้อมทั้งติดตามการเจริญเติบโตเป็นลำดับต่อไป

กิจกรรมการย้ายปลูกปะการังอ่อนนอกจากจะเป็นการฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรแนวปะการังธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการเพิ่มแหล่งอาศัยให้กับสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ในระบบนิเวศและทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นงานศึกษาวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูทรัพยากรและการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

In:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology, Sojo University และ Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม​ “2024 SIT-SOJO-OMU to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในส่วนของการทำยาดมสมุนไพรไทย และการบริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization) พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา Faculty of Technology…

  • ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง (Social-Ecological Transformation in Thai cities)” จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ มูลนิธิฟรีดริค เอ แบร์ท ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งในการผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง รวมถึงบูรณาการแนวคิดประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางสังคมเป็นหลัก

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต จำนวน 19 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต