ศูนย์ฝึกอบรมและบริการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ม.อ. ภูเก็ต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยาจากพื้นฐานสู่การพยากรณ์อากาศ


SHARE

Latest news


Tags


ศูนย์ฝึกอบรมและบริการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยาจากพื้นฐานสู่การพยากรณ์อากาศ ในวันพุธที่ 11 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม 1204 ตึกคณะเทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายจรูญ เลาหเลิศชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา และ ผู้ช่วยศาสตรจารย์.ดร.ป ปัทมา เหมาชูเกียรติกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รูปแบบการอบรมมีทั้งรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งอาจารย์และนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้

In:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • ภาพบรรยากาศ งาน PSU Roadshow: TCAS68

    ภาพบรรยากาศ งาน PSU Roadshow: TCAS68

    เมื่อวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมโครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ ปีการศึกษา 2568 (PSU Roadshow: TCAS68) ตามโรงเรียนต่าง ๆ ดังนี้ ๐ 11 พ.ย. 67 ที่ จ.กระบี่ ณ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ๐ 12 พ.ย. 67 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๐ 13 พ.ย. 67 ที่ จ.นครศรีธรรมราช ณ โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ๐ 14 พ.ย. 67 ที่ จ.ตรัง ณ โรงเรียนสภาราชินี   โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ให้แก่นักเรียนได้รับทราบถึงข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน หลักสูตรที่เปิดใหม่ จุดเด่นและความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรให้มีความเข้าใจง่าย โดยจะมีการบรรยายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระบบ TCAS…

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology, Sojo University และ Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม​ “2024 SIT-SOJO-OMU to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในส่วนของการทำยาดมสมุนไพรไทย และการบริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization) พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา Faculty of Technology…

  • ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง (Social-Ecological Transformation in Thai cities)” จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ มูลนิธิฟรีดริค เอ แบร์ท ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งในการผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง รวมถึงบูรณาการแนวคิดประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางสังคมเป็นหลัก