คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”


คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ให้กับนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13 (SMP) 2/10-2/11 (SMTE) และ 4/2 (SMP) ในระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2566 ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 1 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการจริงและมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ในการทดลองเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่จัดมีทั้งหมด 6 เรื่อง ได้แก่

  • เรื่อง แผนที่ “เราจะรอดจากล๊อกดาวน์ครั้งหน้ามั้ย” และเรื่อง การทำแผนที่ออนไลน์อย่างง่าย โดยมีดร.วีรนันท์ สงสม นางสาวอารีรัตน์ ตามชู และนายธนวัฒน์ ประโมจนีย์ เป็นวิทยากร
  • เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยสิ่งมีชีวิต โดยมีอาจารย์พงศ์ธีระ บัวเพ็ชร และคุณนภาพิศ หลิมสถาพรกุล เป็นวิทยากร
  • เรื่อง ความเค็มและอุณหภูมิกับการแบ่งชั้นน้ำในมหาสมุทร และเรื่อง การปริมาณคลอโรฟิลล์ในน้ำทะเล โดยมีดร.สรณ์สิริ พงศ์ภทรวัต และนายนัฐวุฒิ วาระเพียง เป็นวิทยากร
  • เรื่อง การสกัดดีเอ็นเอและเทคนิคเบื้องต้นทางชีวโมเลกุล โดยมี ดร.ยุรฉัตร เมฆสุวรรณ และคุณนภาพิศ หลิมสถาพรกุล เป็นวิทยากร

ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งหมด 128 คน พร้อมคุณครูผู้ควบคุม จำนวน 8 คน

In:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต จำนวน 19 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

  • บรรยากาศโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงาน สายอำนวยการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

    บรรยากาศโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงาน สายอำนวยการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

    เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น. คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของสายอำนวยการขึ้น ณ ห้องบริหารจัดการน้ำ 1205 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานบุคลากรสายอำนวยการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงการดังกล่าวได้มีผู้บริหารของคณะเข้าร่วมพูดคุย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ และดร.ปริยาภรณ์ รูปโอ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

  • ภาพบรรยากาศการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem”

    ภาพบรรยากาศการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem”

    เมื่อวันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem” โดยเป็นกิจกรรมในงานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์บ้านปลา บูรณาการกับรายวิชานิเวศวิทยาเบื้องต้น ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก Associate Professor Keigo EBATA อาจารย์จากคณะประมง มหาวิทยาลัย Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น เป็นวิทยากร ซึ่งมีนักศึกษาและนักวิจัยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลภูเก็ต (กรมประมง) และชาวประมงพื้นบ้าน เข้าร่วม