นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka Metropolitan University) ประเทศญี่ปุ่น


เมื่อวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ  วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ม.อ.) ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka Metropolitan University) เมืองซาไก จังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก JST Sakura Science Exchange Program โดยภายในกิจกรรม นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ด้าน Data Science โดยได้มีโอกาสทดลองการรับส่งสัญญาณจากเราเตอร์สัญญาณ พร้อมระดมความคิดและเสนอไอเดียในการแก้ปัญหาร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า และการศึกษาดูงานการปลูกผักออแกนิคในโรงงานแบบระบบปิด รวมไปถึงการเสริมประสบการณ์ด้านการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญของจังหวัดโอซาก้า เช่น ปราสาทโอซาก้า (Osaka Castle) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์โอซาก้า (Osaka Science Museum) โดยนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย

1. นางสาวญานิกา สมเชื้อ รหัสนักศึกษา 6230213019

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

2. นางสาวอภิชยา สัจจา รหัสนักศึกษา 6230213021

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

3. นางสาวสุดารัตน์ สมจริง รหัสนักศึกษา 6230213038

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

4. นายธนภัทร จันทร์มาศ รหัสนักศึกษา 6430212002

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

5. นางสาวณัชชา บุญคงทอง รหัสนักศึกษา 6430213011

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

6. นางสาวพรรวษา จันทร์ทิพย์ รหัสนักศึกษา 6430213022

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

7. นายทัตพงศ์ พุ่มเจริญ รหัสนักศึกษา 6530211002

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

8. นางสาวชลธิชาลักษณ์ เนื้อดี  รหัสนักศึกษา 6230613006

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

9. นายจารุพงศ์ ปลอดทอง รหัสนักศึกษา 6430613010

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต จำนวน 19 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

  • บรรยากาศโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงาน สายอำนวยการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

    บรรยากาศโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงาน สายอำนวยการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

    เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น. คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของสายอำนวยการขึ้น ณ ห้องบริหารจัดการน้ำ 1205 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานบุคลากรสายอำนวยการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงการดังกล่าวได้มีผู้บริหารของคณะเข้าร่วมพูดคุย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ และดร.ปริยาภรณ์ รูปโอ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

  • ภาพบรรยากาศการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem”

    ภาพบรรยากาศการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem”

    เมื่อวันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ “Reducing or mitigating the impacts of fishing gear and practices on the marine ecosystem” โดยเป็นกิจกรรมในงานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์บ้านปลา บูรณาการกับรายวิชานิเวศวิทยาเบื้องต้น ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก Associate Professor Keigo EBATA อาจารย์จากคณะประมง มหาวิทยาลัย Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น เป็นวิทยากร ซึ่งมีนักศึกษาและนักวิจัยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลภูเก็ต (กรมประมง) และชาวประมงพื้นบ้าน เข้าร่วม