นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ. ภูเก็ต ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนในกิจกรรม​ “AI Utilization Experience for the Implementation of SDGs” ณ มหาวิทยาลัยโซโจ (Sojo University) ประเทศญี่ปุ่น


SHARE

Latest news


Tags


เมื่อวันที่ 22 – 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนในกิจกรรม​ “AI Utilization Experience for the Implementation of SDGs” ณ มหาวิทยาลัยโซโจ (Sojo University) จังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก JST Sakura Science Exchange Program โดยกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาของทั้งสองสถาบันได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) และระดมสมองเพื่อนำเทคโนโลยี AI และ IoT เพื่อแก้ปัญหา Sustainable Development Goals

รวมทั้งเสริมประสบการณ์ด้านการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญของจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เช่น ปราสาทคุมาโมโตะ (Kumamoto Castle), สวนซุยเซนจิ (Suizenji Park),  ภูเขาไฟอะโซะ (Aso Mountain), อะโซะฟาร์มแลนด์ (Aso Farmland), และ พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว (Kumamoto Earthquake Museum)   โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย

นางสาวธัญญาภรณ์ เดชชัง 

   นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

นายอภิวิชญ์ เจนเศรษฐวัช 

   นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

นายสุทธิพนธ์ รัตนะ 

   นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นางสาวปรียาภัทร เสนกัลป์ 

   นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นางสาวทักศิลป์ เนตรหาญ 

   นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นายธีรวัฒน์ บุญสาร 

   นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นายภูบดี จันทร์มณี 

   นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นายอนุวัฒน์ บุญส่ง 

   นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

นางสาววริศรา ขยันกิจ 

  นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมหารือกับกองทัพเรือภาคที่ 3 แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมหารือกับกองทัพเรือภาคที่ 3 แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต

    เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และคณะ เข้าพบ พลเรือโทสุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมคณะ เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ และทำ MOU ร่วมกันในอนาคต

  • ภาพบรรยากาศการเข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษา กิจกรรม “เปิดโลกกว้างทางการศึกษา ม.3 และ ม.6” ณ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ จังหวัดภูเก็ต

    ภาพบรรยากาศการเข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษา กิจกรรม “เปิดโลกกว้างทางการศึกษา ม.3 และ ม.6” ณ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ จังหวัดภูเก็ต

    เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะการบริการและการท่องเที่ยว คณะวิเทศศึกษา วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ งานประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ และงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ กิจกรรม “เปิดโลกกว้างทางการศึกษา ม.3 และ ม.6” ณ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นแนวทางการประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อ ภายในงานได้มีการให้น้อง ๆ นักเรียน ได้ร่วมสนุกทำกิจกรรม พร้อมรับของรางวัลต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีการแนะนำคณะ/วิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และให้ข้อมูลในส่วนของการรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการอบรมภูมิสารสนเทศเชิงปฎิบัติการ “gitechLab 2024”

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการอบรมภูมิสารสนเทศเชิงปฎิบัติการ “gitechLab 2024”

    เมื่อวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม จัดโครงการอบรมภูมิสารสนเทศเชิงปฎิบัติการ “gitechLab 2024” หัวข้อ “การสร้างแบบจำลองเมือง 3 มิติในโลกดิจิทัล (3D Digital Building Model in the Digital World” โดยมี คุณศตวรรษ อาหรับ ตำแหน่ง Head of Geoinformatics บริษัท i-bitz company limited  เป็นวิทยากร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ สงสม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ช่วยวิทยากร โครงการดังกล่าวให้ความรู้ในการใช้ Vallaris Map Platform สร้างแบบจำนองเมือง 3 มิติ ซึ่งสามารถใช้ในการสร้างฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น กิจกรรมดังกล่าวอบรมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 74 คน