ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา ผู้ได้รับทุนสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ณ Shunan University ประเทศญี่ปุ่น


SHARE

Latest news


Tags


นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ในหัวข้อ “Understanding IoT and Data Science for Smart Industry with Experience” ระหว่างวันที่ 23 – 30 มิถุนายน 2567 ณ Shunan University ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Sakura Science Exchange Program (SSP) ประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ เป็นอาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษา และมีนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้

คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม (GEO)

นายเอื้ออังกูร คงแก้ว รหัสนักศึกษา 6530212001

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง (MSCM)

นางสาวภัทรศรี หวังชัย รหัสนักศึกษา 6630213026

นางสาวกนกพร ชูงาน รหัสนักศึกษา 6330213015

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (Comp)

นายปิติวรรธน์ เอกธนอนันต์ รหัสนักศึกษา 6630611050 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (DE)

นายสิริพงษ์ โชติรัตน์ รหัสนักศึกษา 6530613022 

นายวรเทพ วิญญัตติกุล รหัสนักศึกษา 6430613013

นายเจษฎาพร น้อยจังหาร รหัสนักศึกษา 6430613013

ภายในโครงการนักศึกษาได้เรียนรู้หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี IoT ส่วนประกอบต่าง ๆ และการประกอบสร้างระบบ IoT พร้อมทั้งเรียนรู้ระบบ IoT ที่ใช้งานจริงเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ Yamaguchi ผ่านการบรรยาย อภิปราย และร่วมกลุ่มเสนอความคิด เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพ ลดเวลา และต้นทุนในการปลูก และเก็บเกี่ยววาซาบิ นอกจากนี้นักศึกษาชาวไทย และชาวญี่ปุ่นยังได้รวมกลุ่มเพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ในเมือง Shunan อีกด้วย เช่น ระบบจัดการขยะด้วยถังขยะอัจริยะ ระบบป้องกันและจัดการแมลงรบกวนในไร่ข้าว และระบบบริหารจัดการในการปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูปใบชาเขียวที่มีคุณภาพสูง โดยกิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นโดย Shunan University และมีวิทยากรสองท่านคือ อาจารย์ Assist. Prof. Dr. Tomonari Michiyama และ Prof.Dr. Kiyota Hashimoto ตลอดช่วงเวลา 6 วันที่นักศึกษาใช้เวลาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นทางเจ้าภาพยังมีกิจกรรมนอกสถานที่อื่น ๆ มากมายเช่น 

การศึกษาดูงานที่โรงงาน Tokuyama ซึ่งเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลากหลายเช่น ปูนซีเมนต์ สารเคมี แผ่นซิลิคอน วัสดุที่ได้จากกระบวนรีไซเคิล สารเคมีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยทางโรงงานเป็นผู้นำในการจำหน่ายแผ่นซิลิคอน และการจัดการรีไซเคิลขยะ

การศึกษาดูงานที่บริษัท Chutoku group ทางบริษัทดำเนินธุรกิจจัดการกากของเสียจากโรงงาน เช่น Sludge ไปแปรรูปเพื่อนำไปทำเป็นปูนซีเมนต์ ให้บริการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ดูแลและซ่อมแซมระบบท่อน้ำทิ้งสำหรับครัวเรือน และโรงงาน บริการรับทำความสะอาดและกำจัดขยะทุกประเภทตามครัวเรือน

การเยี่ยมชมฝ่ายไอทีของบริษัท Logisteed บริษัทนี้ให้บริการจัดส่งสินค้าให้กับแต่ละบริษัทในเขตญี่ปุ่นตอนใต้เป็นหลัก โดยมีคู่ค้ามากมายเช่น Starbuck, Kawasaki, ABC mart, Unicharm และอื่น ๆ ทางศูนย์ที่อยู่ที่เมือง Fukuoka จะรับผิดชอบดูแลโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ช่วยในการขนส่ง เช่น หุ่นยนต์เดินตามที่จดจำเส้นทางได้ ระบบจัดการคลังสินค้า และระบบหุ่นยนต์คัดแยกและจัดส่งสินค้าสำหรับการค้าออนไลน์

การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ณ เมือง Fukuoka นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ในร่างการมนุษย์ การก่อกำเนิดดวงดาว และการกำเนิดโลก การเกิดแผ่นดินไหว การวางแผน และออกแบบเมืองสมัยใหม่เพื่อรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ การพัฒนาเมืองและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน จำลองการหมุนอย่างไร้ทิศทางในอวกาศ

จากกิจกรรมทั้งหมด นักศึกษาได้รับทั้งความรู้จากในห้องเรียน ได้พูดคุย เยี่ยมชมกลุ่มธุรกิจทางเทคโนโลยี และการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติ ได้ฝึกการสื่อสารกับชาวต่างชาติ และได้สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองของนักศึกษา โดยขอบคุณทางผู้จัดกิจกรรม Shunan University และผู้ให้ทุน Sakura Science Exchange Program (SSP) ที่ทำให้เกิดกิจกรรมดี ๆ สำหรับนักศึกษาทั้งสองประเทศ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือต่อไปอนาคต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Other news

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น

    วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology, Sojo University และ Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม​ “2024 SIT-SOJO-OMU to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในส่วนของการทำยาดมสมุนไพรไทย และการบริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization) พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา Faculty of Technology…

  • ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา

    เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง (Social-Ecological Transformation in Thai cities)” จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ มูลนิธิฟรีดริค เอ แบร์ท ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งในการผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเมือง รวมถึงบูรณาการแนวคิดประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางสังคมเป็นหลัก

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากศูนย์วิชาการฟายด์มี ภูเก็ต จำนวน 19 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต