เมื่อวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2568 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรม Environmental Proposal Pitching สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ระดับปริญญาตรี ณ ห้อง 6208 เวลา 09.00–12.00 น. โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณรวมทั้งสิ้น 24,000 บาท จาก บริษัท วานา นาวา จำกัด สาขา 00003 (สวนน้ำอันดามันดา ภูเก็ต: Andamanda Phuket Waterpark)
ภายในงานมีทีมเข้าร่วมเสนอผลงานทั้งสิ้น 7 ทีม จากทั้ง 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมอย่างเป็นทางการ
นักศึกษาแต่ละทีมได้นำเสนอโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยผลการตัดสินมีดังนี้:
🥇 รางวัลที่ 1
นางสาวบุญญิสา เกาะเกตุ และนายทัตพงศ์ พุ่มเจริญ
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก กรณีศึกษา: สวนน้ำอันดามันดา ภูเก็ต
🥈 รางวัลที่ 2
นายเอื้ออังกูร คงแก้ว
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การประเมินมวลชีวภาพของต้นยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ด้วยแมชชีนเลินนิง
🥉 รางวัลที่ 3
นายวันฮานีฟ ปะดุกา
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง
หัวข้อ: การติดตามคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำทะเลบริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
🏅 รางวัลที่ 4
นางสาวปิยาพัชร หนองคล้า และนางสาววรรณรดา ชัยวิเศษ
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก กรณีศึกษา โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์
🏅 รางวัลที่ 5
นางสาววริศรา อ่าวลึกน้อย
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการประเมินราคาของต้นยางพารา
🏅 รางวัลที่ 6
นางสาวปาลิตา เกษแก้ว
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างละอองลอยในชั้นบรรยากาศกับอุณหภูมิจากภาพถ่ายดาวเทียม
🏅 รางวัลที่ 7
นางสาวชลกร ยวนเศษ
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: การวิเคราะห์ความหนาแน่นเรือนยอดของป่าชายเลนโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
กิจกรรมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นเวทีในการพัฒนาทักษะการวิจัย การนำเสนอ และสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Andamanda Phuket Waterpark อย่างดียิ่ง
Leave a Reply