เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรองศาสตราจารย์ ดร.ศักย์ชิน บุญถวิล นักวิจัยและอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าพบคุณปิติ ภิรมย์ภักดี และคณะผู้บริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เพื่อมอบประกาศนียบัตรสิทธิบัตรการประดิษฐ์หมายเลข 108066 อย่างเป็นทางการ สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุมสิ่งประดิษฐ์ “อุปกรณ์ตรวจวัดเซลล์ยีสต์มีชีวิตและเซลล์ตายด้วยเทคนิคทางไฟฟ้าชนิดพกพา” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศักย์ชิน บุญถวิล และคณะ เป็นผู้ประดิษฐ์ ได้รับการออกสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ภายหลังการมอบใบประกาศ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักย์ชิน บุญถวิล ได้บรรยายสรุปถึงกระบวนการวิจัยและผลลัพธ์ของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ซึ่งมีศักยภาพในการตรวจวัดเซลล์ยีสต์ได้อย่างแม่นยำและสะดวกต่อการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยยังได้หารือแนวทางการวิจัยต่อยอดกับผู้บริหารของบริษัทฯ…
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมทำบุญคณะ เนื่องในประเพณีสงกรานต์ และวันครบรอบ 20 ปีการสถาปนาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ณ อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ CIC เทศบาลนครภูเก็ต เข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยอันดีงาม โดยมีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสวย ถวายภัตตาหารเพล และข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แต่ยังเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร นักศึกษา และหน่วยงานพันธมิตร ตลอดจนเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จตลอด 20 ปีแห่งการพัฒนาของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอย่างสมภาคภูมิ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้จัดพิธีรับ-มอบเสื้อช็อปสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 ณ ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้บริหาร คณาจารย์ และรุ่นพี่นักศึกษาร่วม ส่งมอบกำลังใจให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความภาคภูมิใจ และมิตรภาพระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาทุกคน ขอให้ทุกก้าวของการเรียนรู้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความสำเร็จและความภาคภูมิใจ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “I-Strong บูสต์พลังใจ” ณ ห้อง 5302A อาคาร 5 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษาให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความเข้าใจตนเอง และสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ โครงการนี้จัดขึ้นโดย งานพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 30 คน ภายใต้การดูแลและให้ความรู้จากวิทยากรทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ ดร.เกษกนก กมลมาตยากุล อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะผู้นำ การจัดการปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และการบริหารองค์กร และ คุณภัทรวดี สุขเนียม นักจิตวิทยา สังกัดงานพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กิจกรรมตลอดช่วงบ่ายประกอบด้วยการบรรยายและกิจกรรมกลุ่ม อาทิ การบรรยายเรื่อง “ทักษะการใช้ชีวิตในสังคม” พร้อมกิจกรรม “เรียนหนังสืออย่าลืมเรียนรู้สังคม” และ “ชีวิตลิขิตด้วยตนเอง” การบรรยายหัวข้อ “ทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง” พร้อมกิจกรรม “ปัญหามาปัญญาเกิด” และ “แค่เปลี่ยนมุมมองความคิด ชีวิตเปลี่ยน”…
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Sichuan Normal University (SNU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องประชุม 1205 อาคาร 1 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเยือนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลี่ยนมุมมองด้านวิชาการและความร่วมมือระหว่างสถาบัน โดยเฉพาะในด้านการจัดตั้งสาขาของโรงเรียนในต่างประเทศ การฝึกงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร ตลอดจนการส่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจาก SNU มาสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุกโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทินี บุญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ธงชัย สุธีรศักดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมให้การต้อนรับและร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการอบรมทักษะทางจุลชีววิทยาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย “เปิดโลกจุลินทรีย์ใต้ทะเล” รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะด้านจุลชีววิทยาแก่นักเรียน ผ่านกิจกรรมฐานปฏิบัติการที่หลากหลาย อาทิ การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาจุลชีววิทยา การเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ การแยกเชื้อบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น spread-plate, pour-plate และ streak-plate การทดสอบการยับยั้งจุลินทรีย์ด้วยสาร antimicrobials การนับจำนวนโคโลนีของแบคทีเรีย การย้อมแกรม การจำแนกชนิดและอธิบายสัณฐานวิทยาของแบคทีเรีย รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำด้วยวิธีการทางจุลชีววิทยาเบื้องต้น การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา ได้แก่ ดร.สรณ์สิริ พงศ์ภัทรวัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ทรงวรวิทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิตา อารีรบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนัย ทิพย์มณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร จิวรุ่งเรืองกุล ดร.สุภัสรา ขุนศรี และคุณนภาพิศ หลิมสถาพรกุล เป็นวิทยากร
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เครื่องมือดิจิทัลและ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน” ให้กับบุคลากรสายอำนวยการ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom ในวันที่ 18 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันวา อาภรณ์ทิพย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ งานสนับสนุนวิชาการ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “โปรแกรม Power BI” เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงภาพให้กับนักศึกษา โดยได้รับเกียรติจากคุณวารี หอมสวัสดิ์ นักวิชาการอุดมศึกษา สังกัดงานทะเบียนและประมวลผล สำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตลอดการอบรม นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคการใช้งานโปรแกรมอย่างใกล้ชิด กิจกรรมครั้งนี้ช่วยเสริมทักษะด้าน Data Visualization ให้กับนักศึกษา เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานจริงในอนาคต
เมื่อวันพุธที่ 12 มีนาคม 2568 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ งานสนับสนุนวิชาการ ได้จัดโครงการอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษา ในหัวข้อ “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 (PDPA)” การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัย โครงการอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในเรื่องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับนักศึกษา พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อไปในอนาคต
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ได้จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเลชายหาดจังหวัดภูเก็ต” ณ ห้องประชุม 1205 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเสวนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต โดยในการเสวนา ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเลชายหาดต่าง ๆ” พร้อมทั้งมีการนำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ๐ ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการน้ำเสียชุมชน ๐ การศึกษาความเหมาะสมระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ๐ กรณีตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพน้ำในลำคลองที่รับน้ำเสียจากชุมชนก่อนระบายสู่แหล่งน้ำหลัก ๐ การสนับสนุนของราชการส่วนกลางในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียชุมชนจังหวัดภูเก็ต ๐ การมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายประชาชนในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียจังหวัดภูเก็ต การเสวนาในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่ออนุรักษ์คุณภาพน้ำทะเลชายหาดจังหวัดภูเก็ตให้คงความสมบูรณ์สืบต่อไป