คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดพิธีมอบช็อปให้กับนักศึกษาภายในคณะฯ ทั้ง 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันอังคารที่ 4 เมษายน 2566 โดยมีคณะอาจารย์ ผู้บริหาร และนักศึกษารุ่นพี่เข้าร่วมแสดงความยินดีกับน้องๆ นักศึกษาที่ได้รับช็อปในครั้งนี้ด้วย
•
ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม 1205 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 ร่วมกับคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดทำสื่อการเรียนการสอน เรื่อง เขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อส่งเสริมสร้างการรับรู้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนหนังสือ เรื่อง ทะเล และมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ไปสู่การเรียนการสอนในสถานศึกษา พื้นที่นำร่อง 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระนอง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล
•
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (รอบเพิ่มเติม) ณ ห้องประชุม 1204 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ได้แก่ ดร.สิริวรรณ รวมแก้ว รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง ซึ่งจะประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2566
ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ ห้องฉายภาพยนตร์ ชั้น 1 อาคาร 5 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการคณบดีพบนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบปะพูดคุยกับคณบดีซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของคณะ รวมถึงทีมบริหารของคณะ เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา รวมถึงเป็นช่องทางให้นักศึกษาได้เสนอความคิดเห็นกับทีมบริหารคณะฯ เพื่อให้คณะฯ ได้แนวทางในการพัฒนาและจัดกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาต่อไป
เมื่อวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ม.อ.) ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka Metropolitan University) เมืองซาไก จังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก JST Sakura Science Exchange Program โดยภายในกิจกรรม นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ด้าน Data Science โดยได้มีโอกาสทดลองการรับส่งสัญญาณจากเราเตอร์สัญญาณ พร้อมระดมความคิดและเสนอไอเดียในการแก้ปัญหาร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า และการศึกษาดูงานการปลูกผักออแกนิคในโรงงานแบบระบบปิด รวมไปถึงการเสริมประสบการณ์ด้านการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญของจังหวัดโอซาก้า เช่น ปราสาทโอซาก้า (Osaka Castle) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์โอซาก้า (Osaka Science Museum) โดยนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1. นางสาวญานิกา สมเชื้อ รหัสนักศึกษา…
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.สิริวรรณ รวมแก้ว รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนเบตง“วีระราษฎร์ประสาน” ห้องเรียนวีระราษฎร์สมองเพชร จังหวัดยะลา จำนวน 35 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ให้กับนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13 (SMP) 2/10-2/11 (SMTE) และ 4/2 (SMP) ในระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2566 ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 1 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการจริงและมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ในการทดลองเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่จัดมีทั้งหมด 6 เรื่อง ได้แก่ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งหมด 128 คน พร้อมคุณครูผู้ควบคุม จำนวน 8 คน
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนห้วยยอด” ให้กับนักเรียนโรงเรียนห้วยยอด ในวันที่ 8 มีนาคม 2566 ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการจริงและมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ในการทดลองเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่จัดมีทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งหมด 71 คน พร้อมคุณครูผู้ควบคุม จำนวน 4 คน
•
ในวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา ณ ห้องประชุม 1205 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการและกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม และเพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับคุณครูและนักเรียน ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวทางการจัดการร่วมกันเพื่อการจัดการเรียนการสอนและทำกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกับ นางสาวอรสา เสรีวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และนายยุทธนา สุวรรณวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ” ให้กับนักเรียนของโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ห้องเรียนพิเศษหลักสูตร SMT ระดับมัธยมศึกษา (กิจกรรมปฏิบัติการทักษะด้านวิทยาศาสตร์ ม.1/1 – ม.3/1) ในระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการจริงและมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ในการทดลองเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่จัดมีทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ ปฏิบัติการเคมี ประกอบด้วย ความกระด้างของน้ำ และการชุบด้วยไฟฟ้า โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสินี ศรีพรหม คุณทัศนีย์ สามารถ และคุณจินดา รุ่งโรจน์ศรี เป็นวิทยากร ปฏิบัติการชีววิทยา ประกอบด้วย การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และการสำรวจสิ่งมีชีวิตในน้ำ…