•
บรรยากาศการเรียนการสอนใน รายวิชา Basic Lifesaving (CPR&AED) ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ โรงพยาบาลกรุงเทพ จังหวัดภูเก็ต โดยในรายวิชาดังกล่าว มีการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงเมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
•
ในวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับโรงเรียนกะทู้วิทยา จังหวัดภูเก็ต ณ ห้องประชุม 1205 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการและกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกับ นายสนิท รอดเข็ม ผู้อำนวยการโรงเรียนกะทู้วิทยา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และนายจักรพันธ์ อุดทะดาดวง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนกะทู้วิทยา ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้
•
ยุวทูตประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต พร้อมคณะทำงาน โครงการ PSU Young Global Affairs and Corporate Communication (PSU Young GACC) การจัดการขยะมูลฝอยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของเกาะขนาดเล็ก กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต จำนวน 21 คน เข้าศึกษาดูงานที่ Sustainable Singapore Gallery (SSG) และ The Plastic Project Singapore ณ ประเทศสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2566
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเพิ่มประสบการณ์ในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน กิจกรรมที่จัดมีทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งหมด 31 คน พร้อมคุณครูผู้ควบคุม จำนวน 2 คน
•
เมื่อวันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นางสาวศุภกานต์ จันทมาตย์ และนางสาวผาณิตนิภา บุญเกื้อ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม และเป็นตัวแทนจากชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม (FOTEC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2565 จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และโรงแรมพินนาเคิล แกรนด์ จอมเทียน รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2565 รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) สู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ขอขอบคุณภาพจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
•
ในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด ณ ห้องประชุม 1205 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนางานบริการวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และเพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการังและการกัดเซาะชายฝั่ง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกับ นายดุสิต ศุทธกิจ Head of Urbanized Solution Business ตัวแทนจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และการจัดการชายฝั่งชายฝั่ง และรองศาสตราจารย์ ธงชัย สุธีรศักดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความตกลงในครั้งนี้
•
เมื่อระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ เอกจิตต์ หัวหน้าโครงการฯ และนักศึกษาไทย จำนวน 16 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 คน ได้แก่ นางสาวพิมพ์ลภัทร หนูฉิม นางสาวหงส์ฟ้า ใจแก้ว นางสาวบัณฑิตา บุญจันทร์ และนายธนวัฒน์ ประโมจนีย์ ตัวแทนยุวทูตประจำวิทยาเขตเพื่อเป้าหมายการพัฒนาระดับโลก PSU Phuket Young GACC for the Sustainable Marine Life” #SDG14: Life Below Water ภายใต้โครงการ PSU Open Mobility ประจำปี 2565 (Reinventing University Project – 2565) เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ…
•
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.สิริวรรณ รวมแก้ว รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา เข้าร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์หลักสูตร ในโครงการ TCAS EXPO 2022 ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาวิชาการ วิสดอม วี อะคาเดมี เพื่อแนะแนววางแผนอนาคต ค้นหาและส่งเสริมความชอบ ความถนัดของนักเรียน ช่วยวางแผนการศึกษา และการเลือกสายงานในอนาคต ณ บริเวณใต้หอประชุมหลวงอนุภาษภูเก็ตการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีนักศึกษาทั้ง 3 สาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ และสาขา แก่น้อง ๆ นักเรียนที่เข้าร่วมงาน
•
วันพุธที่ 11 มกราคม 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุม Aeric ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ได้แก่ ดร.สิริวรรณ รวมแก้ว รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ซึ่งจะประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566
•
ศูนย์ฝึกอบรมและบริการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยาจากพื้นฐานสู่การพยากรณ์อากาศ ในวันพุธที่ 11 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม 1204 ตึกคณะเทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายจรูญ เลาหเลิศชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา และ ผู้ช่วยศาสตรจารย์.ดร.ป ปัทมา เหมาชูเกียรติกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รูปแบบการอบรมมีทั้งรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งอาจารย์และนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้