เมื่อวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และภัยพิบัติระดับโลกในรูปแบบ Multivision Multimedia ณ ศูนย์ประชุมอันดามันพรรณราย มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต โดยหัวข้อที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการ ได้แก่ หัวข้อ “ปัญญาประดิษฐ์กับการประเมินพื้นที่เสี่ยงดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต” และหัวข้อ “การใช้มาตรการสีเขียวเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 KV พังงา 2 – ภูเก็ต 3 ต้นที่ 116 ในท้องที่บ้านท่านุ่น ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา” และได้มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะฯ ร่วมด้วยภายในงาน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการ “TE Sport Day” ประจำปี 2565 ขึ้น ณ ปลายแหลมสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในคณะ สร้างความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างประสบการณ์ทำงานและรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ฝึกให้นักศึกษากล้าคิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะ และมหาวิทยาลัย ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีการแข่งกีฬาต่าง ๆ อาทิเช่น แชร์บอล วิ่งผลัดกระสอบ 5×80 เมตร และชักกะเย่อ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสันทนาการ เพื่อละลายพฤติกรรม แนะนำการรับเสื้อช้อป เฉลยสายรหัส และมีการเก็บขยะบริเวณที่จัดกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย โครงการ “กรณีศึกษา รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต” ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายไพฑูลย์ ศิลปวิสุทธิ์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีดร.จินดา สวัสดิ์ทวี และอาจารย์พงศ์ธีระ บัวเพ็ชร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ข้าราชการ ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม งานดังกล่าวจัดขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ทุกท่านที่ได้เข้าร่วมรับฟังข้อมูลจากการศึกษาวิจัยและร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงนำเสนอความต้องการหรือประเด็นอื่น ๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทุกความคิดเห็นจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตให้มีความสมบูรณ์และตรงตามความต้องการของประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
•
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตร ได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริการและคัดแยกขยะในกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะในทะเลบริเวณอ่าวป่าตอง เพื่อทำสถิติโลกกินเนสส์ (Guinness World Records) ในการดำน้ำเก็บขยะในทะเลที่มีนักดำน้ำเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด ในการนี้ได้รับการขอบคุณ ให้โอวาทและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตในการทำงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากท่านอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายอรรถพล เจริญชันษา และรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.พรศรี สุทธนารักษ์
•
ในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดข้อเสนอโครงงาน ภายใต้โครงการค่ายเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (EnviTech Camp) 2565 “Carbon Coin” นักเทรดมือใหม่ หัวใจสีเขียว #2 ณ ห้องประชุมโครงการบริหารจัดการน้ำ 1205 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีทีมที่ได้รับรางวัลมีทั้งหมด 3 ทีม ได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย จังหวัดพัทลุง ทำโครงงานเรื่อง สารสกัดเซลลูโลสสู่การดูดซับโลหะหนัก สีย้อมคริสตัลไวโอเลตและสีย้อมแมททิวลีนบลูที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกระจูด จังหวัดพัทลุง ทีมนักเรียนจากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดภูเก็ต ทำโครงงานเรื่อง Best Food Waste และทีมนักเรียนจากโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำโครงงานเรื่อง กระชังปลาเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับรางวัลมูลค่าทีมละ 5,000 บาท โดยพิธีมอบรางวัลดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และคุณกัลย์กุลณัฐ…
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต เทศบาลตำบลกะรน จัดกิจกรรม Cleaning Month ภายใต้กิจกรรม “ภูเก็ต ทะเลสะอาด หาดทรายขาว (Phuket white sand and clean sea)” ในวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ หาดกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน กล่าวรายงาน ความเป็นมาในการจัดกิจกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม กล่าวเปิดกิจกรรมในครั้งนี้
•
ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology และ Sojo University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้นด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม “2022 SIT and Sojo U to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมไทย ท้ังการรำไทย และการเล่นดนตรีไทย โดยทีมวิทยากรจากคณะวิเทศศึกษา, การเรียนรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoTs), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis), การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization), กิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดงาน TE OpenHouse ประจำปี 2565 ณ ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ Geo Showcase, Geo Fun Games Fun Quizzes, One Piece’s Treasure: the Geo Adventure, Geo Explore, การปลูกปะการังอ่อนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ, ขวดพลาสติกแลกพันธุ์ผักลิ้นห่านสู่ครัวเรือน, นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ, การเพาะเลี้ยงพืชท้องถิ่นและหญ้าทะเล, MSCM Showcase, What’s TE และ TE’s Research อีกทั้งยังมีการรับสมัครเข้าศึกษา พร้อมสัมภาษณ์เลยทันที ภายในงาน และยังได้รับเกียรติจากคุณสปาย ชวันภัสร์ คงนิ่ม Miss Earth Thailand 2022 มาเยี่ยมชมในงานม.อ.วิชาการครั้งนี้ด้วย
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “National Training Workshop on Research and Monitoring of the Ecological Impacts of Ocean Acidification on Coral Reef Ecosystems” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร UNESCO-IOC Sub-Commission for the Western Pacific (WESTPAC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ Ocean Acidification ที่มีระบบนิเวศปะการังให้กับนักวิชาการ หน่วยงานที่มีอำนาจดูแล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มขีดจำกัดความสามารถของนักวิจัยไทย ในการตรวจวัด pH และ TA ในน้ำทะเล รวมทั้งประเมินผลกระทบของ OA ที่มีต่อระบบนิเวศปะการัง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้าน Ocean Acidification ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ หน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำเสนอมาตรการและกลยุทธ์ในการลดผลกระทบ…
•
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท เมอร์ค จำกัด ประเทศไทย สาขาของบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่าย เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ชั้นนำของโลก จัดบรรยายเชิงวิชาการ แบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย คุณจิรพันธ์ หล่อตระกูลชัย – Senior Marketing Specialist Manager และ ดร.วัฒนพงศ์ สิทธิเสรี – Product Marketing Specialist-Chromatography & Instrument Analysis and Biochemistry-Science & Lab Solutions บริษัท เมอร์ค จำกัด ประเทศไทย ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจากัด เอ แอนด์ เอ รีเอเจนท์ จำนวน 3 หัวข้อ…