•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยดร.จันทินี บุญชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม International Women’s Day (วันสตรีสากล) ในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2565 โดยกิจกรรมจัดขึ้น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Onsite ณ ห้องประชุม 1205 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และแบบ Online ผ่านระบบ Zoom ภายในกิจกรรมมีการชมวิดีทัศน์มุมมองผู้หญิงยุคใหม่ และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบ Onsite จะได้รับของรางวัลพิเศษเป็นผักลิ้นห่านและผักเหมียง ซึ่งเป็นผลผลิตจากวิสาหกิจชุมชนบ้านไม้ขาว จ.ภูเก็ต
•
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี ดำมี หัวหน้าโครงการการเพาะเลี้ยงปะการัง อ่อน Sarcophyton sp. เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (The Culture of Soft Coral Sarcophyton sp. for Ecological Rehabilitation and Ecotourism in Patong Bay, Phuket) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อาจารย์อาคม วังเมือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ วิทยาเขตภูเก็ต คณะอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักดำน้ำ และอาสาสมัคร ดำเนินการย้ายปลูกปะการังอ่อนทองหยิบหรือปะการังอ่อนสีทอง…
•
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี ดำมี หัวหน้าโครงการการเพาะเลี้ยงปะการัง อ่อน Sarcophyton sp. เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (The Culture of Soft Coral Sarcophyton sp. for Ecological Rehabilitation and Ecotourism in Patong Bay, Phuket) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อาจารย์อาคม วังเมือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ วิทยาเขตภูเก็ต คณะอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักดำน้ำ และอาสาสมัคร ดำเนินการย้ายปลูกปะการังอ่อนทองหยิบหรือปะการังอ่อนสีทอง…
•
เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมประชุมและต้อนรับหน่วยงานจาก The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) และ Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA) ณ ห้องประชุม 1205 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “How to publish papers” โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor Dr. Raymond J. Ritchie นักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับใน TOP 2% แรกของโลก ปี 2021 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA) เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เมืื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “How to publish papers” โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor Dr. Raymond J. Ritchie นักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับใน TOP 2% แรกของโลก ปี 2021 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA) เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เมืื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
•
ในวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุม 1204 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน และภาคีเครือข่ายภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่าง Less Plastic Phuket Roadmap และเชื่อมโยงเครือข่ายอาสาสมัครลดขยะทะเล โดยมีดร.จันทินี บุญชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก Ms.Elena Rabbow (GIZ Key Expert), Mr.Evan Fox (US Embassy Bankok) และ Dr.Brandi Toliver (National Istitute of Standards and Technology) เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างกระบวนการในการลดการใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในธุรกิจการส่งอาหารออนไลน์ และขยะในครัวเรือน พร้อมทั้งมีการส่งเสริมให้ประชาชนและร้านอาหารใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
•
วันที่ 23 พ.ย. 64 ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 KV พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น ต.ท่านุ่น อ.โคกกลอย จ.พังงา)นายผล ขวัญนุ้ย ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ นายปรีชา บุญพงษ์มณี วิศวกรระดับ 11 พร้อมด้วย นายวีระชัย เมืองพูล หัวหน้ากองบำรุงรักษาสายส่ง และผู้ปฏิบัติงาน เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาและทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น) ณ ห้องประชุม ชาโต-ดี-เอราวัณ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงาโดยมี ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม อปต. กล่าวเปิดการประชุม และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว…
•
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 รายวิชานิเวศวิทยาพืชชายฝั่ง และรายวิชาชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยดร.ยุรฉัตร เมฆสุวรรณ และดร.จตุรงค์ คงแก้ว จัดโครงการทัศนศึกษาป่าชายหาดและป่าพรุชายหาด จังหวัดภูเก็ต และการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน บ้านท่าดินแดง จังหวัดพังงา ให้กับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะสังคมของพืชป่าชายหาดและพืชป่าพรุชายหาด และได้รู้จักพืชป่าชายหาดและพืชป่าพรุชายหาดบางชนิด ได้เข้าใจถึงภัยคุกคามต่อป่าพรุ-ป่าชายหาดและป่าชายเลยของจังหวัดภูเก็ตและพังงา และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาท รวมถึงแนวทางของชุมชนในการบริหารจัดการ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นที่ป่าชายหาด บ้านท่าฉัตรไชย และป่าพรุชายหาด ณ บ้านไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต และบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
•
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) เข้าพบคณะอาจารย์คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์พี่เลี้ยง ภายใต้โครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)” เพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต โดยมีคณะอาจารย์จากวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมด้วย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา