•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “How to publish papers” โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor Dr. Raymond J. Ritchie นักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับใน TOP 2% แรกของโลก ปี 2021 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA) เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เมืื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “How to publish papers” โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor Dr. Raymond J. Ritchie นักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับใน TOP 2% แรกของโลก ปี 2021 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA) เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เมืื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
•
ในวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุม 1204 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและส่ิงแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน และภาคีเครือข่ายภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่าง Less Plastic Phuket Roadmap และเชื่อมโยงเครือข่ายอาสาสมัครลดขยะทะเล โดยมีดร.จันทินี บุญชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก Ms.Elena Rabbow (GIZ Key Expert), Mr.Evan Fox (US Embassy Bankok) และ Dr.Brandi Toliver (National Istitute of Standards and Technology) เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างกระบวนการในการลดการใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในธุรกิจการส่งอาหารออนไลน์ และขยะในครัวเรือน พร้อมทั้งมีการส่งเสริมให้ประชาชนและร้านอาหารใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
•
วันที่ 23 พ.ย. 64 ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 KV พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น ต.ท่านุ่น อ.โคกกลอย จ.พังงา)นายผล ขวัญนุ้ย ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ นายปรีชา บุญพงษ์มณี วิศวกรระดับ 11 พร้อมด้วย นายวีระชัย เมืองพูล หัวหน้ากองบำรุงรักษาสายส่ง และผู้ปฏิบัติงาน เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาและทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี พังงา2-ภูเก็ต3 ต้นที่ 116 (บ้านท่านุ่น) ณ ห้องประชุม ชาโต-ดี-เอราวัณ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงาโดยมี ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม อปต. กล่าวเปิดการประชุม และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว…
•
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 รายวิชานิเวศวิทยาพืชชายฝั่ง และรายวิชาชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยดร.ยุรฉัตร เมฆสุวรรณ และดร.จตุรงค์ คงแก้ว จัดโครงการทัศนศึกษาป่าชายหาดและป่าพรุชายหาด จังหวัดภูเก็ต และการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน บ้านท่าดินแดง จังหวัดพังงา ให้กับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะสังคมของพืชป่าชายหาดและพืชป่าพรุชายหาด และได้รู้จักพืชป่าชายหาดและพืชป่าพรุชายหาดบางชนิด ได้เข้าใจถึงภัยคุกคามต่อป่าพรุ-ป่าชายหาดและป่าชายเลยของจังหวัดภูเก็ตและพังงา และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาท รวมถึงแนวทางของชุมชนในการบริหารจัดการ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นที่ป่าชายหาด บ้านท่าฉัตรไชย และป่าพรุชายหาด ณ บ้านไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต และบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
•
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) เข้าพบคณะอาจารย์คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์พี่เลี้ยง ภายใต้โครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)” เพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต โดยมีคณะอาจารย์จากวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมด้วย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา
•
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าเยี่ยมชมธนาคารปูม้า บ้านแหลมทราย จ.ภูเก็ต โดยได้รับเกียรติจากคุณศิริโรจน์ ลิ้มนันทพิสิฐ (ผู้ใหญ่จ๋าย) เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษา อีกทั้งชาวบ้านบ้านแหลมทรายยังมีการจัดตั้งเขตอนุรักษ์ลูกปูม้าภายในเขตหญ้าทะเลของหมู่บ้านอีกด้วย นอกจากนี้นักศึกษายังได้ออกปฏิบัติการภาคสนาม ในรายวิชาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยมี ผศ.ดร.วิภาวี ดำมี เป็นอาจารย์ผู้สอน ทำการสำรวจสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวหญ้าทะเล ได้พบสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ซึ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่บริเวณนี้
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชท้องถิ่น โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลกมลา จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่ายให้กับผู้เข้าอบรมที่อยู่ในพื้นที่ตำบลกมลา จังหวัดภูเก็ต และเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชท้องถิ่นได้อย่างถูกวิธี และเพ่ิมเส้นทางในการหารายได้ให้แก่คนในชุมชนตำบลกมลา
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง “องค์ประกอบชนิดและการแพร่กระจายของจักจั่นทะเล (Decapoda, Anomura) ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี อาจารย์อุดมลักษณ์ คงสังข์ เป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย คุณนเรนทร์ฤทธิ์ ชิ้นฟัก นักวิจัยจาก State Key Laboratory of Estuarine and Coastal Research (SKLEC). East China Normal University(ECNU) ได้พานักศึกษาลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลงานวิจัยในจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล ระหว่างวันที่ 13 – 20 ตุลาคม 2564
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในรายวิชานิเวศวิทยาพืชชายฝั่ง (Coastal plant ecology) เปิดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง มุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมพืชชายฝั่ง ได้จัดโครงการทัศนศึกษาป่าชายเลน ณ บ้านอ่าวกุ้ง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งป่าชายเลนธรรมชาติ ถูกรบกวนจากสิ่งก่อสร้างหรือการท่องเที่ยวน้อย ป่าชายเลนบริเวณนี้จึงยังคงลักษณะดั้งเดิมตามธรรมชาติไว้อย่างดี มีการแบ่งเขตของพรรณไม้ตามธรรมชาติ การทัศนศึกษาในสถานที่จริงทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสังคมพืชอย่างแท้จริง ได้รู้จักพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติเพื่อเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแท้จริง