•
อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญจากโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมใน “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสังคม” ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ดร.รวี รัตนาคม และดร.สิริวรรณ รวมแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมใน “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสังคม” ซึ่งจัดขึ้นโดยโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 62 คน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom
•
ในวันพุธที่ 15 กันยายน 2564 สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “พลังงานทดแทนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ผ่านระบบ Zoom โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กัญณภัทร ชื่นวงศ์ จากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรผู้บรรยาย กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รับทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็น และเปิดมุมมองการต่อยอดวิชาชีพด้านสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการ มีการเรียนรู้ผ่านการอบรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
•
อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโนยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดทำแผนที่สำรวจและรายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: ปะการังและหญ้าทะเล” วันที่ 1-3 สิงหาคม 2564 ดร.รวี รัตนาคม และ ดร.สิริวรรณ รวมแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโนยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดทำแผนที่สำรวจและรายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: ปะการังและหญ้าทะเล” แก่เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (สวพ.) แต่ละส่วน ในรูปแบบการอบรมออนไลน์ผสมผสานออนไซต์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการการอบรมการเขียนอีเมล์ การจัดทำบันทึกต่างๆ หนังสือเชิญ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นภาษาอังกฤษ วันพุธที่ 1 กันยายน 2564 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการการอบรมการเขียนอีเมล์ การจัดทำบันทึกต่างๆ หนังสือเชิญ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นภาษาอังกฤษ ให้กับบุคลากรสายสนับสนุน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สรณ์สิริ พงศ์ภัทรวัต เป็นวิทยากร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 (กระบี่) ภายใต้การสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมการวางบ้านปลา ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอ่าวพารา-อ่าวพังงา จังหวัดภูเก็ต อย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและความมั่นคงในอาชีพของชาวประมง โดยจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ท่าเทียบเรือบ้านบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมี ผศ.ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.วิภาวี ดำมี คุณวิษณุ แจ้งใจ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 (กระบี่) คุณสุรสิทธิ์ พลรัฐธนาสิทธิ์ รองปลัดเทศบาลตำบลป่าคลอก คุณเอกมัย มาลา เจ้าพนักงานประมงอาวุโส สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต คุณสิริเพ็ญ รัตนเอี่ยมพงศา ประมงอำเภอถลาง และชาวประมงพื้นบ้านเข้าร่วม ———————————————————————- กำหนดการ กิจกรรมการวางบ้านปลา ภายใต้ “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอ่าวพารา-อ่าวพังงา จังหวัดภูเก็ต…
•
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Center of Research and Development in Coral Culture: CRDCC – PSU) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี ดำมี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินรินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะและขยายพันธุ์ปะการัง แก่คุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนอบจ.เมืองภูเก็ต ทีม Phuket Coral Protector ผู้ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม “เยาวชนคนภูเก็ต ฟื้นฟูแนวปะการัง” จากโครงการ KPI NEWGEN สร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น ของสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อทำกิจกรรมอนุรักษ์ปะการังในบริเวณพื้นที่อ่าวราไวย์ จ.ภูเก็ต ผ่านการประสานงานสร้างเครือข่ายโดย ดร.จันทินี บุญชัย
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง (ถุงกำลังใจ) โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อยู่รอบรั้วมหาวิทยาลัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 100 ชุด โดยได้ทำการแจกจ่ายเสร็จสิ้นแล้วในวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564
•
วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 14 และ 15 สิงหาคม 2564 คณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมโครงการ “จ้างเหมาดำเนินการบริหารจัดการเป็นศูนย์พี่เลี้ยง เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ภายใต้โครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)” ซึ่งมีคุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดภูเก็ตที่เข้าร่วมโครงการ 10 โรงเรียน จำนวนมากกว่า 150 คน
•
วันพุธที่ 4 สิงหาคม 2564 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลกะทู้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล ผู้จัดการโครงการตำบลกะทู้ ส่งมอบถังหมักเศษอาหาร ให้แก่ประชาชนตำบลกมลา เพื่อใช้ในการผลิตวัสดุปรุงดิน และนำวัสดุปรุงดินไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยมีดร.จันทินี บุญชัย ผู้จัดการโครงการตำบลกมลา และประชาชนตำบลกมลาเป็นผู้รับมอบ
•
ในวันพุธที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดพิธีมอบทุนการศึกษา ชื่อทุน “ของขวัญจากอาจารย์สู่นักศึกษา” ภายในกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวนทุนการศึกษา 20,000 บาท มีนักศึกษาที่ได้รับทุนดังกล่าวจำนวน 20 ทุน ทุนละ 1,000 บาท โดยคณะฯได้ทำการพิจารณานักศึกษาต่อเนื่องมาจากนักศึกษาที่สมัครเข้ารับทุน Rotary Club of Patong Beach Scholarship in Environmental Management 2564 เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งทางคณะฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีนักศึกษาที่มีความจำเป็นและต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และคณะฯ ได้ทำการพิจารณาให้ทุนกับนักศึกษาที่ช่วยเหลืองานของคณะฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษา