คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการ “กินขนม ชมวิจัย ใช้ประโยชน์” ครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2567 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ห้องประชุม 1204 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรนิการ์ กาญจนชาตรี เป็นวิทยากร กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรสายอำนวยการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตรง ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากการทำงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีสู่อาจารย์ใหม่หรือนักวิจัยใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยของคณะต่อไปในอนาคต
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนพัฒนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี จำนวน 149 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องฉายภาพยนตร์ ชั้น 1 อาคาร 5A มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำโครงงาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีภูเก็ต ในวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีกิจกรรม ดังนี้ ๐ เรื่อง สถิติเพื่อการทำโครงงาน มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันจิตรา โต๊ะหวันหลง ดร.ปริยาภรณ์ รูปโอ ดร.สุภัสรา ขุนศรี และอาจารย์พรณรงค์ อ่อนชาติ เป็นวิทยากร ๐ เรื่อง การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง มีรองศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล นางสาวคริษฐา พัฒนวิวัฒน์ และนางสาวบุษกร เกลี้ยงเกลา เป็นวิทยากร โดยกิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีภูเก็ต จำนวน 83 คน พร้อมด้วยครูผู้ควบคุม จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 87 คน…
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมภายใต้โครงการฝึกทักษะกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 9-10 ธันวาคม 2566 ณ ห้อง 5102A และ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาคาร 6 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีกิจกรรม ดังนี้ ๐ Thinking in Number มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันจิตรา โต๊ะหวันหลง และดร.ปริยาภรณ์ รูปโอ เป็นวิทยากร ๐ คณิตศาสตร์ในมหาสมุทร มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันจิตรา โต๊ะหวันหลง และดร.สรณ์สิริ พงศ์ภัทรวัต เป็นวิทยากร ๐ ศึกษาการเกิดทะเลกรดโดยการทดลองด้วยยีสต์ มีดร.สรณ์สิริ พงศ์ภัทรวัต และนายคีตภัทร ยี่สาคร เป็นวิทยากร
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนเทศบาล 2 (คลองจิหลาด) จ.กระบี่ จำนวน 211 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ณ ห้องประชุม 1205 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
บรรยากาศงานเลี้ยงสังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต “FTE Pink Night Party” ณ ร้านชิลริมเล จ.ภูเก็ต ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566
•
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สามารถตรวจสอบรายชื่อและลำดับผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ได้ที่ ลำดับผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ หรือสแกน QR code ตามภาพ กำหนดการสอบสัมภาษณ์๐ ประเภทนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 10.00-11.00 น.๐ ประเภทนักเรียนที่มีผลการเรียนดีวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 11.00-11.20 น. ห้องสอบสัมภาษณ์คลิก : LINK Zoomหรือ Zoom Meeting ID: 976 1661 1045Passcode: 725702 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่076276000 ต่อ 6165 หรือ 6434
เมื่อวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงานระยะสั้น ร่วมกับ National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ ภายในกิจกรรมดังกล่าว คณะอาจารย์และนักศึกษาจาก NUS ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ปะการังอ่อน และปลิงทะเล ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมได้ดำน้ำชมปะการังที่เพาะเลี้ยงจากศูนย์วิจัย ณ บริเวณหาดป่าตอง วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำประมงพื้นบ้านจากวิสาหกิจชุมชนปลาช่อนทะเลในการแปรรูปบ้านแหลมทราย และเรียนรู้การฟื้นฟูผักลิ้นห่านและอนุรักษ์จักจั่นทะเลบ้านไม้ขาว พร้อมชมการสาธิตและชิมอาหารจากปลาช่อนทะเล ผักลิ้นห่าน และจักจั่นทะเล วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรนิการ์ กาญจนชาตรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทินี บุญชัย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ PSU-Phuket Envitech Short Programs ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 5 ธันวาคม 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รศ.ดร. วีระพงค์ เกิดสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ และ ผู้ช่วยศาสตราจาร์ กรรนิการ์ กาญจนชาตรี ให้การต้อนรับ ประธานและคณะกรรมการประเมินตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่วิจัยของคณะในการฟื้นฟูผักลิ้นห่านและอนุรักษ์จักจั่นทะเลบ้านไม้ขาว และการส่งเสริมยุทธศาสตร์ Gastronomy ของจังหวัดภูเก็ตในการเลี้ยงปลาช่อนทะเลและแปรรูป บ้านแหลมทราย ซึ่งทางคณะกรรมการได้ชื่นชมผลงานวิจัยในรูปแบบบูรณาการของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงานระยะสั้น ร่วมกับมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น (Kumamoto University) ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว คณะจากมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการร่วมกับคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ปะการังอ่อน ปลิงทะเล จากสถานที่เพาะเลี้ยง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงผักลิ้นห่าน จักจั่นทะเล และแบล็คแซลมอน พร้อมชมการสาธิตและชิมอาหารจากวัตถุดิบดังกล่าว อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านในชุมชนกมลา ซึ่งประยุกต์วิถีชาวบ้านให้เข้ากับการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชน พร้อมชมการสาธิตการทำขนมเดือน และขนมอาโป้ง ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต และนอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตกหมึก พร้อมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม โดยศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงามของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ PSU-Phuket Envitech Short Programs ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม