•
ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2565 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology และ Sojo University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้นด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม “2022 SIT and Sojo U to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมไทย ท้ังการรำไทย และการเล่นดนตรีไทย โดยทีมวิทยากรจากคณะวิเทศศึกษา, การเรียนรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoTs), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis), การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization), กิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดงาน TE OpenHouse ประจำปี 2565 ณ ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ Geo Showcase, Geo Fun Games Fun Quizzes, One Piece’s Treasure: the Geo Adventure, Geo Explore, การปลูกปะการังอ่อนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ, ขวดพลาสติกแลกพันธุ์ผักลิ้นห่านสู่ครัวเรือน, นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ, การเพาะเลี้ยงพืชท้องถิ่นและหญ้าทะเล, MSCM Showcase, What’s TE และ TE’s Research อีกทั้งยังมีการรับสมัครเข้าศึกษา พร้อมสัมภาษณ์เลยทันที ภายในงาน และยังได้รับเกียรติจากคุณสปาย ชวันภัสร์ คงนิ่ม Miss Earth Thailand 2022 มาเยี่ยมชมในงานม.อ.วิชาการครั้งนี้ด้วย
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “National Training Workshop on Research and Monitoring of the Ecological Impacts of Ocean Acidification on Coral Reef Ecosystems” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร UNESCO-IOC Sub-Commission for the Western Pacific (WESTPAC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ Ocean Acidification ที่มีระบบนิเวศปะการังให้กับนักวิชาการ หน่วยงานที่มีอำนาจดูแล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มขีดจำกัดความสามารถของนักวิจัยไทย ในการตรวจวัด pH และ TA ในน้ำทะเล รวมทั้งประเมินผลกระทบของ OA ที่มีต่อระบบนิเวศปะการัง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้าน Ocean Acidification ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ หน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำเสนอมาตรการและกลยุทธ์ในการลดผลกระทบ…
•
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท เมอร์ค จำกัด ประเทศไทย สาขาของบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่าย เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ชั้นนำของโลก จัดบรรยายเชิงวิชาการ แบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย คุณจิรพันธ์ หล่อตระกูลชัย – Senior Marketing Specialist Manager และ ดร.วัฒนพงศ์ สิทธิเสรี – Product Marketing Specialist-Chromatography & Instrument Analysis and Biochemistry-Science & Lab Solutions บริษัท เมอร์ค จำกัด ประเทศไทย ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจากัด เอ แอนด์ เอ รีเอเจนท์ จำนวน 3 หัวข้อ…
•
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565 ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการ ระหว่างบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กับคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ณ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานภาคใต้ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
•
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565 ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการ ระหว่างบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กับคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ณ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานภาคใต้ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
•
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม – 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา นางสาวขวัญจิรา ใจบุญทา นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการ Study Camp on Environmental and Energy Technology ณ Kanazawa University ประเทศญี่ปุ่น โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทุนจาก JST (Japan Science and Technology Agency)
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมพบปะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 และจัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “Biomethanation to treat waste gasses” วิทยากรโดย Mr.Manuel Fachal นักศึกษาระดับปริญญาเอก สังกัด Autonomous University of Barcelona ประเทศบาร์เซโลนา เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 10.30 – 13.30 น. ณ ห้องประชุมบริหารจัดการน้ำ 1204 และ ผ่านระบบ zoom
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมพบปะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 และจัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “Biomethanation to treat waste gasses” วิทยากรโดย Mr.Manuel Fachal นักศึกษาระดับปริญญาเอก สังกัด Autonomous University of Barcelona ประเทศบาร์เซโลนา เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 10.30 – 13.30 น. ณ ห้องประชุมบริหารจัดการน้ำ 1204 และ ผ่านระบบ zoom
•
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนหนังสือ เรื่อง ทะเล และมหาสมุทร และผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล ไปสู่การเรียนการสอนในสถานศึกษา พื้นที่นำร่อง 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระนอง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ โดยมีดร.ชูสิน วรเดช ศึกษาธิการภาค 6 เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ในวันที่ 15 กันยายน 2565 ณ โรงแรมบูกิตตาโฮเทล แอนด์ สปา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต การลงนามข้อตกลงครั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ในทุกช่วงชั้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของทะเล พร้อมร่วมปกป้อง อนุรักษ์ เห็นคุณค่า และใช้ประโยชน์ทางทะเลของทะเลไทยอย่างยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ต่อการดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร…