•
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม (FOTEC) เข้าร่วมงานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม (FOTEC) โดยมี ดร.วิลาสินี ศรีพรหม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม เข้าร่วมงานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563 จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดงานมอบรางวัลในครั้งนี้ ชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม (FOTEC) ได้รับการประเมินอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับเงิน หมายเหตุ: ขอขอบคุณภาพถ่ายจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
•
วันที่ 27 มีนาคม 2565 นักศึกษาในรายวิชาการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง (Marine and Coastal Protected Areas Management) ได้เดินทางไปทัศนศึกษา ณ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา เพื่อศึกษาการจัดการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ การจัดที่อยู่อาศัยและทำกินของประชาชนในเขตอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 64 และโครงการอนุญาตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงชีพตามวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่อยู่โดยรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 65 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาคุณศรายุธ ตันเถียร ที่ให้ความอนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และภัยคุกคามต่ออุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตลอดจนความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 64 และ 65 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขอขอบคุณนายสุรัตน์ สุมาลี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ให้การต้อนรับและและจัดคณะทำงานบรรยายเกี่ยวกับจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะชุมชน และผลการดำเนินงานด้านการประมงชุมชน
•
วันที่ 27 มีนาคม 2565 นักศึกษาในรายวิชาการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง (Marine and Coastal Protected Areas Management) ได้เดินทางไปทัศนศึกษา ณ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา เพื่อศึกษาการจัดการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ การจัดที่อยู่อาศัยและทำกินของประชาชนในเขตอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 64 และโครงการอนุญาตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงชีพตามวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่อยู่โดยรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 65 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาคุณศรายุธ ตันเถียร ที่ให้ความอนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และภัยคุกคามต่ออุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตลอดจนความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 64 และ 65 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขอขอบคุณนายสุรัตน์ สุมาลี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ให้การต้อนรับและและจัดคณะทำงานบรรยายเกี่ยวกับจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะชุมชน และผลการดำเนินงานด้านการประมงชุมชน
•
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้การต้อนรับ Mr. A.Reza Cockrell, Co-founder and Chaiman ของ The HABITAT Foundation และคณะ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ร่วมให้การต้อนรับ โดยการนำเสนอผ่านไปได้ด้วยดี โดยคณะผู้เยี่ยมชมมีความสนใจและยินดีให้การสนับสนุนงานที่คณะดำเนินการ ทั้งในด้านของการเป็นแหล่งขอทุนวิจัยและเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงระหว่างคณะกับสถาบันวิจัยอื่นๆ ในต่างประเทศ
•
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้การต้อนรับ Mr. A.Reza Cockrell, Co-founder and Chaiman ของ The HABITAT Foundation และคณะ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ร่วมให้การต้อนรับ โดยการนำเสนอผ่านไปได้ด้วยดี โดยคณะผู้เยี่ยมชมมีความสนใจและยินดีให้การสนับสนุนงานที่คณะดำเนินการ ทั้งในด้านของการเป็นแหล่งขอทุนวิจัยและเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงระหว่างคณะกับสถาบันวิจัยอื่นๆ ในต่างประเทศ
•
ดร.จันทินี บุญชัย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หารือเรื่องความร่วมมือด้านการวิจัย Circular economy กับ Mr. David Nicol จาก Warwick University ซึ่งดำเนินงานวิจัยเรื่องการออกแบบระบบการสำรองพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ จำกแบตเตอรี่ที่รีไซเคิล ร่วมกับ คุณนิพนธ์ เอกวานิช จากบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง (PKCD) และ Mr. Palmer Owyoung จาก The Phuket News เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 11.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม Bayaco บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง
•
ดร.จันทินี บุญชัย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หารือเรื่องความร่วมมือด้านการวิจัย Circular economy กับ Mr. David Nicol จาก Warwick University ซึ่งดำเนินงานวิจัยเรื่องการออกแบบระบบการสำรองพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ จำกแบตเตอรี่ที่รีไซเคิล ร่วมกับ คุณนิพนธ์ เอกวานิช จากบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง (PKCD) และ Mr. Palmer Owyoung จาก The Phuket News เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 11.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม Bayaco บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง
•
สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แก่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน (Reskill & Upskill) “การใช้งานโปรแกรม AutoCad เบื้องต้น” สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แก่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน (Reskill & Upskill) “การใช้งานโปรแกรม AutoCad เบื้องต้น” โดยนายรัฐวิสุทธิ์ กล่อมจิตต์ วิทยากร ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2565 รูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพให้กับศิษย์เก่าเพื่อนำไปใช้ปรับใช้ในการทำงาน และศิษย์ปัจจุบันเพื่อนเตรียมตัวเข้าสู่การทำงานในอนาคต
•
สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แก่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน (Reskill & Upskill) “การใช้งานโปรแกรม AutoCad เบื้องต้น” สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แก่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน (Reskill & Upskill) “การใช้งานโปรแกรม AutoCad เบื้องต้น” โดยนายรัฐวิสุทธิ์ กล่อมจิตต์ วิทยากร ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2565 รูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพให้กับศิษย์เก่าเพื่อนำไปใช้ปรับใช้ในการทำงาน และศิษย์ปัจจุบันเพื่อนเตรียมตัวเข้าสู่การทำงานในอนาคต
•
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายดิจิทัลสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา” ในระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล เป็นหัวหน้าโครงการ กิจกรรมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดงานและมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เข้าอบรม โดยมี คุณรัตนาภรณ์ ตันรัตนส่องแสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติภูเก็ตฝ่ายวิชาการ เป็นตัวแทนรับมอบ