เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 นางสาวพัชรา โกศินานนท์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านทุนการศึกษา กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้แทนกรมฯ เข้าพบผู้บริหารระดับคณะ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้า ส่งเสริมสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานไทยที่กำกับดูแลทุนรัฐบาลไทย และ ขอตรวจเยี่ยมนักศึกษาผู้รับทุน จำนวน 1 ราย คือ MRS.MARIYAM MINHA JAMEEL นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ระบบโลก (หลักสูตรนานาชาติ) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา พร้อมประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล
เมื่อวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงานระยะสั้น ร่วมกับ British International School จังหวัดภูเก็ต ภายในกิจกรรมดังกล่าว คณะครูและนักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และลงพื้นที่เก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบนชายหาดและแนวหิน บริเวณอ่าวตังเข็น จังหวัดภูเก็ต วิทยากรโดย อาจารย์อุดมลักษณ์ คงสังข์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ PSU-Phuket Envitech Short Programs ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมสัมมนานักศึกษาสหกิจศึกษาและปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องฉายภาพยนตร์ ชั้น 1 อาคาร 5 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา เป็นผู้กล่าวปัจฉิมโอวาท และได้รับเกียรติจากคุณอุรัฎศยาภัค รูปโอ เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “ภาษีง่าย ๆ สไตล์ First Jobber” และคณะฯ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในมุมมองของนักศึกษา และลุ้นรับรางวัลร่วมกันภายในงาน
โดยมีผลการตัดสิน ดังนี้ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 เด็กหญิงโบอา ชาง จากโรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต รางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 เด็กหญิงพริมา เกียรติตันสกุล จากโรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 นายฑีปภัส พุ่มพวง จากโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ รางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 เด็กหญิงนันท์นภัส บุญตันตราภิวัฒน์ จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต รางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 นายแทนคุณ เวชสิทธิ์ จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีครินทร์ จังหวัดภูเก็ต สำหรับผู้ชนะการประกวดขอให้มารับรางวัล ณ บริเวณสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567 เวลา 15.00-15.45 น. ทั้งนี้ทางผู้จัดงานขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมส่งผลงานประกวด องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการตัดสินผลงาน และผู้สนับสนุนรางวัลประกอบด้วย Blue…
ในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ มีกำหนดการตัดสินการประกวดภาพวาด ในหัวข้อ “ฟื้นผืนดิน ฝ่าภัยแล้ง” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุม 1204 ชั้น 2 อาคาร 1 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ เชาว์ปรีชา อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ คุณสรณ์ฉัตร ไกรนรา จาก The Living Art Co.,Ltd. และรองศาสตราจารย์โสภณ ศุภวิริยากร เป็นกรรมการตัดสินการประกวดในครั้งนี้ โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีทั้งหมด 8 ชิ้นงาน แบ่งเป็นระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ชิ้นงาน และระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 ชิ้นงาน
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้บริหาร และบุคลากรสายอำนวยการ เข้าร่วมต้อนรับคณะผู้บริหาร และบุคลากร จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในด้านการบริหารสถานศึกษา และการจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของสถานศึกษา ด้านวิชาการ การจัดการศึกษา และการพัฒนานักศึกษา และด้านการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และบริการวิชาการแก่สังคม ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องฉายภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2566 โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษานำเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ และมี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา เป็นผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอและให้คะแนนการนำเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ดีเด่น ผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอดีเด่น จำนวน 4 รางวัล 1. นางสาวคริษฐา พัฒนวิวัฒน์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ) ได้รับรางวัล 2 รางวัล คือ รางวัล Outstanding Presenter ซึ่งให้คะแนนโดยอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา และ รางวัล Outstanding Presenter ซึ่ง Vote โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร 2. นายพรณรงค์ อ่อนชาติ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ) ได้รับรางวัล Runner-up Presenter ซึ่งให้คะแนนโดยอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา ได้รับเงินรางวัล 500…
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีกำหนดการตรวจเยี่ยมคณะฯ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : EdPEx 300 ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงค์ เกิดสิน คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งคณะอาจารย์ และบุคลากรคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ร่วมต้อนรับ ซึ่งมีคณะกรรมการประเมินฯ ได้แก่ คุณวรวุฒิ แจ้งศุภนิมิตร ศาสตราจารย์จามรี ธีรตกุลพิศาล รองศาสตราจารย์อนันต์ มุ่งวัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวลักษณ์ สุขประเสริฐ และนางสาวศุภลักษณ์ โอสถานนท์
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสินี ศรีพรหม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม (TEM) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ระดับบัณฑิตศึกษา รวมจำนวน 11 คน เข้าศึกษาดูงานการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ณ โรงแรมดุสิต ธานี ลากูน่า ภูเก็ต เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเสริมสร้างความรู้และส่งเสริมศักยภาพครู ในการจัดกระบวนการเรียนรู้หนังสือทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” ซึ่งจัดโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 (สธภ.6) ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักรู้ในเรื่องของทะเลขั้นพื้นฐาน แสดงให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของทะเลไทย ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ โดยมีเข้าร่วมอบรม ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษา จากสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของ สธภ.6 ทั้ง 6 จังหวัด จำนวน 340 คน