เมื่อวันที่ 9-11 เมษายน พ.ศ. 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์โลก เพื่อดึงดูดให้เยาวชนที่มีความสนใจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เรียนรู้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญในการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม จากนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ โดยจัดกิจกรรมเป็นระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ณ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม บริเวณบ้านหาดไม้ขาว และบ้านแหลมทราย ภายในค่ายเยาวชนรักษ์โลก ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ 1.กิจกรรม “สำรวจประชากรผักลิ้นห่านและจักจั่นทะล โดยมีอาจารย์อุดมลักษณ์ คงสังข์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร 2.กิจกรรม “วิสาหกิจชุมชนและการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรนิการ์ กาญจนชาตรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร 3.กิจกรรม “สำรวจ วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม และทำแผนที่พรุไม้ขาว” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ สงสม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร 4.กิจกรรม “ท้องฟ้าและการดูดาว” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์ สงสม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากร 5.การบรรยาย หัวข้อ “การอนุรักษ์พืชพันธุ์และสัตว์ป่าของอุทยานสิรินาถ”…
วันที่ 20 มีนาคม 2567 ผศ.ดร.วิภาวี ดำมี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นำนักศึกษาจากญี่ปุ่น Bunkyo University เยี่ยมชมฟาร์มสาธิต ร่อนแร่ สาธิตการทำแผ่นยางพารา ณ Phuket Old Farm และเยี่ยมชมกิจการนากุ้งวินัยฟาร์ม บ้านป่าคลอก
วันที่ 8 มีนาคม 2567 นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้ชื่อ “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” มีการนำเสนอผลงานวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ โดยงานดังกล่าวมีงานวิจัยทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กว่า 100 ผลงาน จากสถานการศึกษาทั่วประเทศ
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 ผศ.ดร.กรรนิการ์ กาญจนชาตรี นำนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเลและการแปรรูปบ้านแหลมทรายได้ร่วมปล่อยปลาช่อนทะเลร่วมกับ นายสิทธิพล เมืองสงประมงจังหวัด ประมงจังหวัดภูเก็ต ในโครงการพัฒนาศักยภาพชาวประมงเพส่งเสริมอาชีพกลุ่มประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ (ร.10) บริเวณปลายแหลมสะพานหิน ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เมื่อวันที่ 5-7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นางสาวศิริวิมลวรรณ แพ่งโยธา และนายปกรณ์ สุวรรณกายี นักศึกษาคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวแทนจากชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม (FOTEC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Children & Youth : CCE) จัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมรอยัลฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพและทักษะของเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการดำเนินการโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสริมทักษะเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการประเมินผลข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการ เพื่อส่งเสริมทักษะเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมในการปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อพัฒนาเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามสถานการณ์แผนและนโยบายระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ผศ.ดร.กรรนิการ์ กาญจนชาตรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นำนักศึกษาจากญี่ปุ่น Bunkyo University เรียนรู้การฟื้นฟูผักลิ้นห่านและการอนุรักษ์จักจั่นทะเลจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผักลิ้นห่านและจักจั่นทะเลบ้านไม้ขาว หลังจากนั้นได้พอนักศึกษา เรียนรู้วิถีประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรจากวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเลและการแปรรูปบ้านแหลมทรายในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามหาวิทยาลัยบุนเกียวรุ่นที่ 10 #คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม #สวทช #วช #กฟผ #อบตไม้ขาว
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้ม จัดโครงการพัฒนาทักษะการดำน้ำลึกเพื่อการวิจัยทางทะเล ให้กับนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง ชั้นปีที่ 3 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาความรู้ทักษะด้านการดำน้ำลึกตามมาตรฐานสากลของสหพันธ์ดำน้ำโลก CMAS นั้น จึงขออนุมัติจัดโครงการฯ ในระหว่างวันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2567 ภาพข่าวเพิ่มเติม #MSCM #วิทยาศาสตร์ทางทะเล #คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม #Marinescience #PSUPhuket #PSU #คณะสิ่งแวดล้อม #fte #วิทยาศาสตร์ #ทะเล #วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง #Marine #มารีน #ทางทะเล
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนมัธยมเปี่ยมรัก จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 85 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องฉายภาพยนตร์ ชั้น 1 อาคาร 5A มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการ “กินขนม ชมวิจัย ใช้ประโยชน์” ครั้งที่ 3 ขึ้น ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 1204 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม เป็นวิทยากร กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรสายอำนวยการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตรง ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากการทำงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีสู่อาจารย์ใหม่หรือนักวิจัยใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยของคณะต่อไปในอนาคต
เมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2567 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกิจกรรม Japan x Thailand Virtual Exchange ร่วมกับ Sojo University ประเทศญี่ปุ่น โดยภายในกิจกรรม มีการเล่นเกมตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนภาษาร่วมกัน