เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.ปกรณ์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการตลาดและพัฒนาระบบ ร่วมต้อนรับ คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนเทศบาล 2 (คลองจิหลาด) จ.กระบี่ จำนวน 211 คน ซึ่งเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะและช่องทางการศึกษาต่อเข้าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ณ ห้องประชุม 1205 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
บรรยากาศงานเลี้ยงสังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต “FTE Pink Night Party” ณ ร้านชิลริมเล จ.ภูเก็ต ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566
•
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สามารถตรวจสอบรายชื่อและลำดับผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ได้ที่ ลำดับผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ หรือสแกน QR code ตามภาพ กำหนดการสอบสัมภาษณ์๐ ประเภทนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 10.00-11.00 น.๐ ประเภทนักเรียนที่มีผลการเรียนดีวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 11.00-11.20 น. ห้องสอบสัมภาษณ์คลิก : LINK Zoomหรือ Zoom Meeting ID: 976 1661 1045Passcode: 725702 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่076276000 ต่อ 6165 หรือ 6434
เมื่อวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงานระยะสั้น ร่วมกับ National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ ภายในกิจกรรมดังกล่าว คณะอาจารย์และนักศึกษาจาก NUS ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ปะการังอ่อน และปลิงทะเล ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปะการัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมได้ดำน้ำชมปะการังที่เพาะเลี้ยงจากศูนย์วิจัย ณ บริเวณหาดป่าตอง วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ดำมี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำประมงพื้นบ้านจากวิสาหกิจชุมชนปลาช่อนทะเลในการแปรรูปบ้านแหลมทราย และเรียนรู้การฟื้นฟูผักลิ้นห่านและอนุรักษ์จักจั่นทะเลบ้านไม้ขาว พร้อมชมการสาธิตและชิมอาหารจากปลาช่อนทะเล ผักลิ้นห่าน และจักจั่นทะเล วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรนิการ์ กาญจนชาตรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทินี บุญชัย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ PSU-Phuket Envitech Short Programs ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 5 ธันวาคม 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย คณบดีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รศ.ดร. วีระพงค์ เกิดสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ และ ผู้ช่วยศาสตราจาร์ กรรนิการ์ กาญจนชาตรี ให้การต้อนรับ ประธานและคณะกรรมการประเมินตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่วิจัยของคณะในการฟื้นฟูผักลิ้นห่านและอนุรักษ์จักจั่นทะเลบ้านไม้ขาว และการส่งเสริมยุทธศาสตร์ Gastronomy ของจังหวัดภูเก็ตในการเลี้ยงปลาช่อนทะเลและแปรรูป บ้านแหลมทราย ซึ่งทางคณะกรรมการได้ชื่นชมผลงานวิจัยในรูปแบบบูรณาการของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงานระยะสั้น ร่วมกับมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น (Kumamoto University) ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว คณะจากมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการร่วมกับคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ปะการังอ่อน ปลิงทะเล จากสถานที่เพาะเลี้ยง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงผักลิ้นห่าน จักจั่นทะเล และแบล็คแซลมอน พร้อมชมการสาธิตและชิมอาหารจากวัตถุดิบดังกล่าว อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านในชุมชนกมลา ซึ่งประยุกต์วิถีชาวบ้านให้เข้ากับการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชน พร้อมชมการสาธิตการทำขนมเดือน และขนมอาโป้ง ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต และนอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตกหมึก พร้อมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม โดยศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงามของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ PSU-Phuket Envitech Short Programs ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
บรรยากาศการร่วมจัดบูธนิทรรศการ ของคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในงาน “PSU Roadshow : TCAS67” กิจกรรมการเดินสายประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนสายอาชีวศึกษาในภาคใต้ ประจำปีการศึกษา 2567 ณ โรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดงาน FTE OpenHouse ประจำปี 2566 ณ ตึกคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ What’s TE?, TE’s Research, Geo Show Case, Geo Fun Games Fun Quizzes, Geo Adventure, ขวดพลาสติกแลกพันธุ์ผักลิ้นห่าน (อัตลักษณ์ ต.ไม้ขาว) สู่ครัวเรือน, นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ, การปลูกปะการังอ่อนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ, การเพาะเลี้ยงพืชท้องถิ่นและหญ้าทะเล และเปิดโลกจุลินทรีย์ใต้ทะเล นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันอีกด้วย ได้แก่ แข่งขันการพูดสุนทรพจน์รอบตัดสิน ในหัวข้อ “เมื่อเราเป็นหมอรักษา “โลก””, แข่งขันการทำแผนที่ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และแข่งขันตอบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่…
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการ “TE Sport Day” ประจำปี 2566 ขึ้น ณ บริเวณหาดกะตะ จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในคณะ สร้างความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างประสบการณ์ทำงานและรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ฝึกให้นักศึกษากล้าคิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะ และมหาวิทยาลัย ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีการแข่งกีฬาต่าง ๆ และยังมีกิจกรรมสันทนาการ รวมถึงมีการเก็บขยะบริเวณที่จัดกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย
วันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2566 คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ Shibaura Institute of Technology, Sojo University และ Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ด้านวิทยาการข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อกิจกรรม “2023 SIT-Sojo-OMU to Visit PSU Phuket: Data Analysis and Visualization Workshop” ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมไทยในส่วนของการรำไทย และเรียนรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoTs) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสร้างมโนภาพข้อมูล (Data visualization) พร้อมกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษา